KKP ชี้โอมิครอนกระทบสั้น คาดฟื้นตัวครึ่งปีหลัง ทั้งปีโตได้ 3.9%
KKP ชี้โอมิครอนกระทบสั้น คาดฟื้นตัวครึ่งปีหลัง ทั้งปีโตได้ร้อยละ 3.9 แต่เสี่ยงเงินเฟ้อและบาทผันผวนกระทบปากท้องและธุรกิจ
ดร. พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ KKP Research บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) (Dr. Pipat Luengnaruemitchai, Chief Economist, KKP Research, Kiatnakin Phatra Securities Public Company Limited) เผย บล. เกียรตินาคินภัทร ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2565 ว่ามีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีขึ้น โดยเศรษฐกิจน่าจะเริ่มกลับสู่ภาวะปกติได้มากขึ้น แต่ยังมีความไม่แน่นอนอยู่ค่อนข้างมาก ความกังวลเรื่องการระบาดของเชื้อโอมิครอนในไตรมาสที่หนึ่ง น่าจะมีผลกระทบในช่วงสั้น ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการกลับมาของนักท่องเที่ยวล่าช้าออกไป แต่น่าจะกลับมาฟื้นตัวได้เมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศและการท่องเที่ยวเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และยังคงการคาดการณ์เศรษฐกิจทั้งปีที่น่าจะโตได้ที่ระดับร้อยละ 3.9 ภายใต้สมมุติฐานนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 5.8 ล้านคน
ทั้งนี้ ในภาพรวม ปี 2565 มีแนวโน้มและปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตามอง คือ
อย่างไรก็ดี มีความเสี่ยงที่สำคัญสามด้าน คือ
สาม หากอัตราเงินเฟ้อโลกไม่ปรับตัวลดลงตามคาด อาจทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยและถอนการกระตุ้นมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ซึ่งจะส่งกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังต้องจับตาประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจจะยิ่งทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น และกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วโลกได้
12 Digital Marketing Trend 2022
การตลาดยุคดิจิทัลเปลี่ยนแปลง และพัฒนาอยู่เสมอ และปี ค.ศ. 2022 น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้เห็นกันแน่ ๆ เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดต้องวางแผนเพื่อที่จะรับมือ และคว้าโอกาสกับเทรนด์ใหม่ ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น Marketeer จะมาสรุปเทรนด์ที่น่าจับตาในปี ค.ศ. 2022 และนักการตลาดจะใช้ประโยชน์จากเทรนด์เหล่านั้นได้อย่างไรบ้าง
1. Meta มาแน่
Facebook ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Meta อย่างเป็นทางการแล้ว Facebook เดิมพันไว้สูงกับ Metaverse ซึ่งคือการสร้างประสบการณ์ให้ผู้คนในโลกเสมือนจริง และนี่คือทิศทางแห่งอนาคตบนโลกดิจิทัล
ข้อแนะนำ: นักการตลาดควรเริ่มมองหาโอกาสในการสร้างธุรกิจในโลก Meta ด้วย
2. Influencers ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง (แม้ในโลกของ B2B)
สิ้นปี ค.ศ. 2021 ตลาด Influencer คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 13,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้แต่แบรนด์ B2B ก็เริ่มที่จะใช้การตลาด Influencer ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าเป็น Adobe, SAP, GE หรือ PWC เพราะ Influencer ช่วยให้ลูกค้าเข้าใจบริบทของสินค้า และการใช้สินค้าได้ดียิ่งขึ้น
ข้อแนะนำ: นักการตลาดควรมองหาวิธีที่จะโปรโมตสินค้าในพื้นที่ของ Influencer เช่นกัน
3. นโยบายความเป็นส่วนตัว เริ่มมีผลกับการโฆษณามากขึ้น
โฆษณาในยุคดิจิทัลต้องพึ่งพาชุดข้อมูลเป็นจำนวนมาก กฎนโยบายความเป็นส่วนตัว เช่น การอัปเดตระบบปฏิบัติการ IOS หรือ การยกเลิกระบบ Cookie ทำให้เรามีข้อมูลมาป้อนระบบประมวลผลได้น้อยลงอย่างมาก
ข้อแนะนำ: นักการตลาดควรประเมินผลกระทบของนโยบายความเป็นส่วนตัว ในเรื่องการวางแผนโฆษณา และรีบวางแผนรับมือไว้ล่วงหน้า
4. นักการตลาดต้องวางกลยุทธ์ให้เฉียบคมยิ่งขึ้น
แม้ว่าเครื่องมือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบอัตโนมัติ, Artificial intelligence หรือ Machine learning จะช่วยผ่อนแรงนักการตลาดได้มากก็ตาม แต่นักการตลาดต้องวางกลยุทธ์ให้รอบคอบยิ่งขึ้น เพราะเครื่องมือทางการตลาดทั้งหลายนับวันยิ่งมีมากขึ้นทุกที
ข้อแนะนำ: นักการตลาดควรคิดวางแผนกลยุทธ์ให้ถี่ถ้วน และเลือกใช้เครื่องมือทางการตลาดที่ช่วยผลักดันยอดขายของธุรกิจได้จริง
5. LinkedIn ยังคง เติบโต เติบโต และ เติบโต
LinkedIn ยังคงเป็นดาวดวงเด่นในโลกดิจิทัล ในทุก ๆ ไตรมาส LinkedIn มีจำนวนผู้ใช้ active ต่อเดือนเพิ่มขึ้นอย่างมาก และผู้ใช้เหล่านั้นมีปฏิสัมพันธ์กันบน LinkedIn อย่างต่อเนื่อง และ LinkedIn ได้ออก Feature ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และขยาย Platform ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง
ข้อแนะนำ: นักการตลาดห้ามพลาด LinkedIn!!!
6. SEO แยกย่อย และ ใช้ยากขึ้นเรื่อย ๆ
SEO นับว่าเป็นเครื่องมือทางการตลาดยุคดิจิทัลตั้งแต่ยุคบุกเบิกก็ว่าได้ แต่ระบบการค้นหานับวันยิ่งฉลาดขึ้น และ อ่านบริบทการค้นหาได้แม่นยำยิ่งขึ้น แทนที่นักการตลาดจะพยายามเฟ้นหาวิธีที่จะ “โกง” หรือ “หลอก” ระบบ SEO เราควรหันมาพัฒนา Content ที่จะตอบโจทย์ ตรงใจผู้บริโภคมากขึ้นต่างหาก
ข้อแนะนำ: นักการตลาดควรให้ความสำคัญกับ SEO น้อยลง แต่ควรหันมาใส่ใจกับการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภคมากกว่า
7. ประสบการณ์ คือเงินตราในโลกโซเชียล
ธุรกิจต่าง ๆ พยายามแก่งแย่งความสนใจของผู้บริโภค และพยายามสุดตัวให้ลูกค้าพูดถึง หรือแนะนำแบรนด์ของตน (Word of Mouth) แต่ในโลกที่ทุกแบรนด์ตีฆ้องร้องป่าวกันอยู่ตลอดเวลา การที่จะให้ผู้บริโภคได้ยินสิ่งที่แบรนด์พูด หรือบอกต่อสินค้าของแบรนด์นั้นยากขึ้นไปทุกที
ข้อแนะนำ: นักการตลาดต้องใส่ใจในการสร้างประสบการณ์ที่ดีในทุก ๆ Touchpoint ที่ได้ติดต่อกับลูกค้า และลูกค้าที่มีประสบการณ์ที่ดีกับแบรนด์นั้นแหละจะบอกต่อเกี่ยวกับแบรนด์เอง
8. ทักษะการทำงานที่เกี่ยวกับดิจิทัลเติบโตต่อเนื่อง
จาก LinkedIn พบว่า ทักษะด้านดิจิทัลเป็นที่ต้องการมากที่สุด แต่บุคลากรที่มีความรู้ด้านดิจิทัลมีน้อยกว่าความต้องการในตลาดเป็นอย่างมาก
ข้อแนะนำ: นักการตลาดควรพัฒนาทักษะตัวเอง และสนใจเรื่องรอบตัวอยู่เสมอ ส่วนผู้นำในองค์กรควรจะเพิ่มทักษะด้านดิจิทัลให้แก่พนักงานในองค์กรด้วยเช่นกัน
Digital Marketing Trend 2022 (ต่อ)
9. Facebook (Meta) ยังอยู่แน่นอน
คนมักพูดกันอยู่เรื่อย ๆ ว่าเดี๋ยวนี้คนไม่เล่น Facebook กันแล้ว แต่ในความเป็นจริง Facebook มีผู้ใช้มากถึง 3,000 ล้านคน
และยังคงมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นทุกวัน
ข้อแนะนำ: นักการตลาดควรคิดไว้ก่อนเลยว่า Facebook จะยังคงครองตลาด Social Media อยู่
10. Website ต้องโหลดให้เร็วขึ้น
คนเข้าชม Website จากมือถือกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ Website ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ตอบโจทย์การเข้าชมจากมือถือเท่าที่ควร ยิ่งไปกว่านั้น Google จะ launch Platform การออกแบบ Website ชื่อ Core Web Vitals ที่จะทำให้ความเร็วในการเข้าชม Website เป็นเรื่องสำคัญมากขึ้นไปอีก
ข้อแนะนำ: นักการตลาดต้องพัฒนา Website อยู่เสมอ
11. Algorithm ขับเคลื่อนทุกอย่าง
ทุก ๆ ส่วนของการตลาดยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นหน้าฟีด Social Media, Display Ad, Social Ad, SEO หรือ แม้แต่ E-Mail ล้วนเกิดขึ้นจากการคำนวนของ Algorithm ทั้งสิ้น โดยที่ Algorithm พยายามสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้
ข้อแนะนำ: นักการตลาดต้องสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค หรือนำเสนอ Content ที่ตรงใจผู้บริโภค มิเช่นนั้นโอกาสที่ผู้บริโภคจะเห็นแบรนด์เราแทบจะไม่มีเลย
12. Bonus: เครื่องมือพื้นฐานนี่แหละ สำคัญที่สุด
บางทีนักการตลาดอาจจะหลงไปกับเครื่องมือการตลาดใหม่ ๆ ที่ดูน่าสนใจ นักการตลาดชอบเรื่อง Trend ใหม่ และอยากเป็นคนแรก ๆ ที่ใช้เทคโนโลยี หรือ Platform ใหม่ ๆ แต่ในความเป็นจริงยอดขายยังคงมาจากเครื่องมือทางการตลาดเดิม ๆ นั้นแหละ อย่าลืมที่จะสร้างพื้นฐานให้มั่นคงเสียก่อน หลาย ๆ ครั้งที่เราปรับเครื่องมือพื้นฐานให้ดีขึ้น เราได้ยอดขายกลับมามากกว่าการที่เราไปลงทุน (หรือหลงทาง) ไปกับเครื่องมือใหม่ ๆ เสียอีก
HR 2022 บนเส้นทาง 8 Mega Trend
HR เทรนด์ ปี 2022 ถึงเวลาอัพ Skill คนในองค์กรแล้วหรือยัง (เทรนด์การตลาด)
HR ไม่ใช่แค่เพียงแผนกรับคน แต่ HR คือหนึ่งในหัวใจองค์กร
และในปีหน้า เทรนด์ HR ที่น่าสนใจเป็นอย่างไร
อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน สรุปเทรนด์ HR โลกในปีหน้า เป็นยุคแห่งการขับเคลื่อนคนสู่ “Work Hard – Work Fast – Work Smart” ที่ประกอบด้วยกัน 8 HR Mega Trend 2022 ได้แก่
เทรนด์ที่ 1: Hiring New Talent Internally
การจ้างงานในปี 2022 จะเน้นไปที่การเติมเต็ม หรือจ้างงานคนข้างใน มากกว่าการจ้างงานคนนอก ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบของการสร้าง Internal Talent Marketplace ผ่านการอัปสกิล-รีสกิลพนักงาน เพื่อสร้างความสามารถใหม่ ๆ ที่เป็นพิเศษอย่างต่อเนื่อง
ในฝั่งผู้บริหารต้องมองเรื่องการสร้าง Internal Recruitment ซึ่ง HR จะต้องเป็นผู้ออกแบบการเติบโตของอาชีพ Career Path ใหม่ ๆ ให้ Talent สามารถเติบโตได้ในหลายทิศทาง (Multidirectional) มากขึ้น และให้ความสำคัญกับคนที่เก่งจากการมีทักษะรอบด้าน
เทรนด์ที่ 2: Building New Management Models for a Multigenerational Workforce
องค์กรต้องพร้อมสร้างวัฒนธรรมองค์กร (Organization Culture) ที่ครอบคลุมและรองรับการทำงานของคนอย่างน้อย 4 เจเนอเรชั่น อย่าง GEN Z, GEN Y, GEN X และ Baby Boomer เพื่อให้ทำงานร่วมกันได้อย่างสร้างสรรค์และมีความสุข
เทรนด์ ที่ 3: Enabling Hybrid Workplaces
แน่นอนว่า Workplace จะเปลี่ยนไปเป็น Hybrid Workplace ผสมผสานระหว่าง Virtual ทำงานจากที่ไหนก็ได้บางวัน และการเข้ามาทำงานที่บริษัทแบบ Face-to-Face ในบางวัน ดังนั้น หน้าที่ของ HR คือ หาจุดบาลานซ์ในหลากหลายมิติใหม่ ทั้งเรื่องรูปแบบการทำงาน และการดูแลคนในองค์กร เช่น การ On-Boarding การสื่อสารภายในองค์กร การมีส่วนร่วมของพนักงาน การประเมินผลงานพนักงานที่เน้นผลลัพธ์ ตลอดจนการเสริมทักษะผู้บริหารในการบริหารจัดการทีมแบบ Virtual Communication
เทรนด์ที่ 4: Rethinking Work For Gen Z
Gen Z ที่กำลังเข้ามาในตลาดงาน และมีการทำงานที่สุดขั้วต่างจาก Gen Y โดยสิ้นเชิง ดังนั้น การใช้คอนเซ็ปต์แบบเดียวกันในการบริหารคนต่างเจนไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป ต้องคิดต่างและคิดมุมใหม่ในการทำงานร่วมกับคน Gen Z เน้นการ Mentor เพื่อที่จะสร้างแรงจูงใจให้เด็กรุ่นใหม่เหล่านี้อยากมาทำงานกับเรา และสร้างผลงานแบบ High Productivity ซึ่งจะนำพาองค์กรสู่การเปลี่ยนแปลงและเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน
เทรนด์ที่ 5: Benefiting from a Growing Gig Economy
การจ้างงานถาวรเริ่มลดน้อยลง เพราะองค์กรเริ่มให้ความสนใจกับการจ้างคนเป็นงาน ๆ หรือการจ้างเป็นรายสัญญา รายโปรเจกต์ ซึ่งหลายองค์กรเริ่มหันมาใช้กลยุทธ์นี้มากขึ้น และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น ทำให้ประเทศไทยนั้นมี Gig workforce เกิดขึ้นเป็นจำนวนหลานแสนคน
ซึ่งจะเห็นได้ว่า องค์กรที่มีความยืดหยุ่นปรับตัวได้เร็วแบบ Agile จะมีการใช้ Gig Worker มากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2022 ดังนั้น HR จะต้องเตรียมตัวในเรื่องของการทำงานร่วมกันระหว่างพนักงานประจำและเหล่า Gig ทั้งหลาย ผ่านนโยบายที่เหมาะสม การดูแลพนักงาน หรือ Talent ทั้งภายในและภายนอกบริษัท รวมไปถึงการพัฒนาทักษะผู้บริหารให้ทำงานสื่อสารกับ Gig workforce ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เทรนด์ที่ 6: Increasing Need for Power Skills: Soft Skills, Digital Skills, Thinking Skills
เรื่องที่สำคัญ คือ ปีหน้าองค์กรต้องเร่งเพิ่ม “ทักษะทรงพลัง” ใน 3 มิติ ได้แก่ ทักษะทางอารมณ์ ทักษะดิจิทัล และทักษะด้านความคิด
ที่ผ่านมา องค์กรยังไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ เพราะติดกับดักในเรื่อง Soft Skills อย่างเรื่อง Mindset และ Communication เป็นต้น ซึ่งทักษะเหล่านี้จะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จขององค์กร
นอกจากนี้ คนในองค์กรต้องมี Digital Savvy เข้าใจการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล และต้องมีการพัฒนาในเรื่องของความคิดที่จะช่วยเรื่องการเติบโตขององค์กรได้เป็นอย่างดี
เทรนด์ที่ 7: Planning for Perpetual Reskilling/Upskilling at Speed
HR ต้องติดสปีดการเรียนรู้ใหม่ ๆ ให้กับพนักงานในองค์กร เร่งเติมเสริมศักยภาพของพนักงานผ่านการรีสกิลและอัปสกิลที่เหมาะสม จัดลำดับความสำคัญของทักษะที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร ต้องทำคู่ขนานไปกับแผนการดำเนินงานขององค์กร และนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วยเร่งติดอาวุธทักษะให้กับคนในองค์กร และเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร
เทรนด์ที่ 8: Increasing Focus on Building Learning Ecosystems
การมีส่วนร่วมของพนักงานนั้นสำคัญมาก และเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ การสร้างระบบนิเวศในการทำงานใหม่จึงจำเป็นมากในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นมิตรให้พนักงานไม่รู้สึกกดดันในการทำงานมากเกินไป
Credit : https://marketeeronline.co/archives/237098